โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ อาจเป็นโรคที่ไม่รุนแรงแต่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย จึงพบว่า ผู้หญิง 60% เคยติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ อย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต และมีผู้หญิงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ประมาณ 10% ทุกปี โดยอาจมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ, ปัสสาวะบ่อย, ปัสสาวะเป็นหนอง หรือปนเลือด อาจทำให้เกิดไตวายเฉียบพลันหากไม่ได้รักษา บางคนอาจใช้ยาปฏิชีวนะเพียงอย่างเดียว แต่บางคนเลือกเสริม ด้วยการใช้สมุนไพรรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบร่วมด้วย
1. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หมายถึงอะไร ?
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection, UTI) มักเกิดจากเชื้อEscherichia coli (E.Coli) ที่พบได้ในอุจจาระถึง 70-83% ส่วนใหญ่เกิดการติดเชื้อ จากอวัยวะส่วนล่างย้อนขึ้นข้างบน แต่บางกรณีอาจเกิดตามหลัง การติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินปัสสาวะ ที่เชื่อมต่อกันทั้งระบบ แต่อาจมีอาการเด่นที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งได้ เช่น
- กรวยไตอักเสบแบบเฉียบพลัน (Acute pyelonephritis) ทำให้มีไข้หนาวสั่น, ปัสสาวะเป็นหนอง และปวดบั้นเอวได้
- ท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethritis) อาจพบในผู้ชายได้มากกว่า เพราะมีท่อปัสสาวะยาวกว่า เช่น โรคหนองในเทียม
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) พบได้บ่อยในผู้หญิง ทำให้มีอาการเจ็บปวด ขณะปัสสาวะได้
2. ประเภทของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
2.1 การติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ แบบไม่ซับซ้อน (Uncomplicated Cystitis)
หมายถึงมีการติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ ที่ไม่มีความผิดปกติของโครงสร้างระบบปัสสาวะ หรือประสาทที่ควบคุมการทำงาน อาจเกิดตามหลังการมีเพศสัมพันธ์ หรือมีการรักษาความสะอาดที่บกพร่องได้
2.2 การติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ แบบซับซ้อน (Complicated Cystitis)
หมายถึงมีการติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ ที่มีความผิดปกติของโครงสร้างระบบปัสสาวะ หรือประสาทที่ควบคุมการทำงาน เช่น โรคถุงน้ำที่ไต (Autosomal Dominant Polycystic Kidney Disease, ADPKD), มีนิ่วในไต (Kidney stones), มีโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง, โรคเบาหวาน, เป็นผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะอยู่ หรือเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย ชนิดที่พบได้เฉพาะในโรงพยาบาล
2.3 การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำ (Recurrent Urinary Tract Infection)
ปกติการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้หญิง ไม่ต้องตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมตั้งแต่การติดเชื้อครั้งแรก เหมือนในผู้ชาย แต่หากมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 2 ครั้งใน 6 เดือน หรือ 3 ครั้งใน 1 ปี จำเป็นต้องทำการหาสาเหตุอื่นเพิ่มเติม เช่น เนื้องอกมดลูก, มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
3. 5 อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- ปวดแสบเวลาปัสสาวะ (Dysuria) รู้สึกเจ็บหรือเสียวขณะปัสสาวะ ทำให้ต้องค่อย ๆ เบ่งปัสสาวะออกมา
- ปวดท้องน้อย (Suprapubic pain) โดยเฉพาะขณะออกแรงเบ่งปัสสาวะ
- ปัสสาวะบ่อย (Frequency) เนื่องจากมีการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการกระตุ้นกล้ามเนื้อและระบบประสาท จึงมีการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เพื่อขับน้ำปัสสาวะจนบ่อยมากกว่าปกติ
- ปัสสาวะราด (Urgency urinary incontinence) หนึ่งในอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก เกิดจากกระเพาะปัสสาวะถูกกระตุ้นและทำงานไวเกิน ทำให้มีการกระตุ้นให้ปล่อยปัสสาวะ แม้ปริมาณน้ำปัสสาวะจะไม่ถึงระดับที่ควรกระตุ้น ทำให้เกิดการปัสสาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้ (Involuntary Urination)
- ปัสสาวะปนเลือด (Hematuria) บางครั้งอาจพบเลือดปนในปัสสาวะได้ เนื่องจากมีการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินปัสสาวะ
- หากการติดเชื้อรุนแรงอาจพบว่า มีไข้สูง, หนาวสั่น, ปัสสาวะเป็นหนองร่วมด้วยได้
4. แนวทางการรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ
หากสงสัยว่า กระเพาะปัสสาวะอักเสบหายเองได้ไหม ? กระเพาะปัสสาวะอักเสบกินยาอะไรดี ? คำตอบค่อนข้างชัดเจนว่า โอกาสที่จะหายเองเป็นไปได้ยาก คงต้องได้รับยาที่สามารถฆ่าเชื้อได้ เพราะโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อ จึงควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย ร่วมกับตรวจปัสสาวะยืนยันเชื้อ เพื่อประโยชน์ในการปรับยารักษา กรณีที่เป็นเชื้อดื้อยา หรือเป็นการติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะแบบซับซ้อน ซึ่งสมาคมศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะแห่งสหรัฐอเมริกา (American Urological Association) ได้แนะนำแนวทางการรักษาไว้ดังนี้
4.1 การติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ แบบไม่ซับซ้อน (Uncomplicated Cystitis)
- Fosfomycin 3 กรัม ครั้งเดียว
- Bactrim® (Trimethoprim/Sulfamethoxazole) ครั้งละ 1 เม็ด เช้า-เย็น นาน 3 วัน และสังเกตอาการ หากไม่ดีขึ้นต้องพิจารณาปรับยา
- กรณีเชื้อดื้อยาข้างต้น ให้ใช้ Ciprofloxacin (250 มก.) ครั้งละ 1 เม็ด เช้า-เย็น นาน 3 วัน
4.2 การติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ แบบซับซ้อน (Complicated Cystitis) ในผู้หญิง
- Ciprofloxacin (500 มก.) ครั้งละ 1 เม็ด เช้า-เย็น นาน 7 วัน
- Levofloxacin (750 มก.) ครั้งละ 1 เม็ด วันละครั้ง นาน 5 วัน
- Bactrim® (Trimethoprim/Sulfamethoxazole) ครั้งละ 1 เม็ด เช้า-เย็น นาน 14 วัน
- บางรายอาจได้รับยาปฏิชีวนะแบบฉีด 1 ครั้งเมื่อเริ่มรักษาด้วย
4.3 การติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะในผู้ชาย
การติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะในผู้ชายพบได้ไม่บ่อย แต่ถ้าหากมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือได้รับการวินิจฉัยว่า มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ต้องทำการตรวจเพิ่มด้วยเสมอ ซึ่งมักมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของต่อมลูกหมาก ดังนั้นการติดเชื้อในผู้ชาย จึงนับเป็น การติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะแบบซับซ้อน (Complicated Cystitis) เสมอ โดยต้องใช้เวลารักษานาน 7-14 วัน ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ
- Bactrim® (Trimethoprim/Sulfamethoxazole 160/800) ครั้งละ 1 เม็ด เช้า-เย็น
- Levofloxacin (500 มก.) ครั้งละ 1 เม็ด วันละครั้ง
- Ciprofloxacin (500 มก.) ครั้งละ 1 เม็ด เช้า-เย็น
นอกจากการใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อโดยตรงแล้ว อาจใช้ร่วมกับสมุนไพรรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบจากยูเฮอร์เบิล (Uherbal) ที่จะช่วยดูแลอาการปัสสาวะขัด, ปัสสาวะลำบาก, ปัสสาวะบ่อย, ปัสสาวะราด, ปัสสาวะไม่สุด, กลั้นปัสสาวะไม่อยู่, ปัสสาวะมีเลือดปน ช่วยให้คุณใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติมากขึ้น
สรุป
อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นโรคหนึ่งในกลุ่มโรคการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI) ซึ่งพบได้บ่อยในผู้หญิง แต่อาจพบได้ในผู้ชายที่มีความผิดปกติ ของโครงสร้างบางอย่างในระบบปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะ, ปวดท้องน้อย, ปัสสาวะบ่อย, ปัสสาวะราด, ปัสสาวะปนเลือด นอกจากการใช้ยาฆ่าเชื้อแล้ว การใช้ยาสมุนไพรรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบจากยูเฮอร์เบิล (Uherbal) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยดูแลอาการต่าง ๆ ช่วยให้คุณได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขอีกครั้ง