เช็กด่วน ! โรคระบบทางเดินปัสสาวะ ที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง ? และมีอาการอย่างไร ?

เช็กด่วน ! โรคระบบทางเดินปัสสาวะ ที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง ? และมีอาการอย่างไร ?

ระบบทางเดินปัสสาวะ ทำหน้าที่กรองเลือด ปรับสมดุลแร่ธาตุ และขับของเสียออกจากร่างกาย เรียกได้ว่า ทำงานหนักต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง จึงมีโอกาสที่จะเกิด โรคระบบทางเดินปัสสาวะ ได้ง่าย หากไม่บำรุงและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง

1. ส่อง! โรคระบบทางเดินปัสสาวะ ที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง ?

ส่อง โรคระบบทางเดินปัสสาวะ ที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง ?
ส่องโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง ?

1.1 กระเพาะปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน (Acute Cystitis)

อาจเกิดจากการติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะโดยตรง หรืออาจเป็นผลพวงจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น มีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ, ต่อมลูกหมากโต, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งจะทำให้เยื่อบุภายในอักเสบ บวม มีสารน้ำคั่ง มีเลือดซึม ส่งผลให้ปัสสาวะแสบขัด, ปัสสาวะบ่อย, ปัสสาวะปนเลือด หรือปวดท้องน้อยได้

1.2 กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง (Bladder Pain Syndrome / Interstitial Cystitis)

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง
กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุ ของกลุ่มอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง หรือโรคประสาทปัสสาวะ ซึ่งสาเหตุไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ หรือการกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ แต่ทำให้มีอาการผิดปกติ อาการฉี่บ่อย คล้ายกับติดเชื้อได้ นอกจากนี้คำว่า กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรัง ยังอาจหมายถึงการติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะซ้ำ (Recurrent Cystitis) ในอีกแง่หนึ่งด้วย

1.3 กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute Pyelonephritis)

เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ที่มักเกิดตามหลังกระเพาะปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน โดยจะทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อไตและกรวยไต จนมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดเอว ปัสสาวะบ่อย ปวดแสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะมีกลิ่นฉุน ปัสสาวะเป็นหนอง หรือปัสสาวะมีสีผิดปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือดหรือช็อก

1.4 ท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethritis)

เป็นโรคที่มักมีสาเหตุจากการติดเชื้อ ที่ปนเปื้อนในอุจจาระ หรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ส่งผลให้เยื่อบุภายในท่อปัสสาวะอักเสบ และบวมขึ้น ช่องทางระบายน้ำปัสสาวะจึงตีบแคบลง ทำให้เจ็บจี๊ดเวลาปัสสาวะ, ปัสสาวะกะปริบกะปรอย, ปัสสาวะขัด, ปัสสาวะเป็นเลือดหรือหนอง ซึ่งการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ วิธีรักษาต้องเน้นที่การทานยาและสมุนไพรฆ่าเชื้อเป็นหลักเลย

1.5 ต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia)

ต่อมลูกหมากโต พบบ่อยในชายสูงอายุ
ต่อมลูกหมากโต พบบ่อยในชายสูงอายุ

ต่อมลูกหมากโต ถือเป็นโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ที่พบบ่อยในชายสูงอายุ เกิดจากการเสียสมดุลของฮอร์โมนเพศตามวัย ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อต่อมลูกหมากขยายใหญ่ขึ้น จนกดเบียดท่อปัสสาวะ (Prostatic Urethra) ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ มีอาการฉี่ไม่สุด, กลั้นปัสสาวะไม่อยู่, ปัสสาวะเล็ด และปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนนั่นเอง

1.6 นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Stones)

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ อย่างนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากการสะสมของผลึกแร่ธาตุบางชนิด เช่น แคลเซียม, ยูริก, ซีสทีน พบบ่อยในชายอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในคนที่มีปัญหาท่อปัสสาวะตีบ ต่อมลูกหมากโต และประสาทควบคุมกระเพาะปัสสาวะบกพร่อง ซึ่งจะทำให้มีอาการปัสสาวะเป็นเลือด, ปัสสาวะขุ่น, ปัสสาวะไม่สุด, ปัสสาวะไม่ออก, ปัสสาวะขาดเป็นช่วง ๆ และปัสสาวะสะดุดได้

1.7 นิ่วในไตและท่อไต (Renal and Ureteric Stones)

กลไกการเกิด ของนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะทั้ง 2 ชนิดนี้ คล้ายกับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แต่อาการจะแตกต่างกัน โดยนิ่วในไตจะเด่นที่อาการปวดเอว หากก้อนนิ่วอุดตัน จนไตบวมน้ำ ก็จะยิ่งทำให้ปวดแน่นมากกว่าเดิม แต่ถ้านิ่วไหลลงมาในท่อปัสสาวะ ก็จะทำให้มีอาการปวดบีบท้องเป็นพัก ๆ แบบปวดที่สุดในชีวิตได้

1.8 ไตวายเฉียบพลัน (Acute Kidney Injury)

ผู้สูงอายุและวัยทำงานหลายคน ปล่อยให้ไตทำงานหนักโดยที่ไม่เคยดูแลไต ไม่เคยสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะมีกลิ่นฉุน, ปัสสาวะออกน้อย, ไม่มีปัสสาวะ, ตัวบวม, หายใจหอบเหนื่อย, ซีด ซึ่งหากเกิดจากยาสเตียรอยด์, สารพิษ, ขาดน้ำ, เนื้องอก, ต่อมลูกหมากโต, นิ่ว หรือติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ วิธีรักษาก็ต้องแก้ที่สาเหตุก่อนเลย

1.9 กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจากระบบประสาท (Neurogenic Bladder)

โรคนี้เกิดจากความบกพร่อง ของระบบประสาทที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะ ตั้งแต่ระดับของสมอง ไขสันหลัง ไล่ลงมาจนถึงเส้นประสาท โดยสาเหตุค่อนข้างหลากหลาย เช่น อุบัติเหตุ, เบาหวาน, เส้นเลือดสมองตีบ, มะเร็งสมอง ซึ่งจะทำให้มีอาการปัสสาวะเล็ด หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แน่นอน

1.10 มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer)

เนื้องอกของกระเพาะปัสสาวะ จะทำให้มีอาการคล้ายกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง เช่น ปัสสาวะมีเลือดปน, ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ, ปวดหน่วงท้องน้อย, ปวดเบ่งเวลาปัสสาวะ, ปัสสาวะขัด หรือรู้สึกเหมือนฉี่ไม่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของก้อนด้วย

2. UHERBAL ดูแลครอบคลุม กลุ่ม โรคระบบทางเดินปัสสาวะ

UHERBAL ดูแลครอบคลุม กลุ่ม โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
UHERBAL ดูแลครอบคลุม กลุ่มโรคระบบทางเดินปัสสาวะ

หากคุณเป็นคนหนึ่ง ที่มีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในไต, ต่อมลูกหมากโต, ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ วิธีรักษาที่ดีที่สุด คือแก้ไขสาเหตุ ร่วมกับหาทางป้องกันความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้สมุนไพรดูแลทางเดินปัสสาวะอย่าง UHERBAL จึงเป็นทางเลือกชั้นดี ที่จะช่วยลดเสี่ยงติดเชื้อ, สลายนิ่ว, ดูแลต่อมลูกหมาก, บำรุงไต, บรรเทาอาการปัสสาวะลำบาก และชะลอความเสื่อม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. สรุป

โรคระบบทางเดินปัสสาวะ ที่พบบ่อยทั้งในเพศหญิงและเพศชาย มักจะมีรอยโรคอยู่ที่ทางเดินปัสสาวะส่วนล่างเป็นหลัก จึงสังเกตอาการผิดปกติได้ง่าย ทำหน้าที่คล้ายสัญญาณเตือน ที่ทำให้เราสามารถดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที

บทความแนะนำ

9 สาเหตุและวิธีบรรเทา โรคปัสสาวะบ่อย ไม่สุด ผู้หญิง หายได้ ถ้ารู้สิ่งนี้ บทความนี้มีคำตอบ

ขอบคุณรูปภาพจาก urologyhealth. , mayoclinic


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *