วิธีดูแลไตให้แข็งแรง สำหรับคนที่ไม่มีปัญหาโรคไต อาจแค่เลือกทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทานโปรตีนให้พอดี, เลือกทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน, ทานไขมันชนิดดี และทานผักผลไม้ก็คงเพียงพอแล้ว แต่สำหรับคนที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคไต เช่น มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ, ต่อมลูกหมากโต, ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อย ๆ, เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเป็นโรคไตเรื้อรังแล้ว คงต้องศึกษาข้อมูลการดูแลไตให้แข็งแรง โดยเริ่มจากเรื่องสำคัญ อย่างการทานอาหารเป็นอันดับแรก
1. วิธีดูแลไตให้แข็งแรง ต้องเริ่มจากเลือกอาหารให้เป็น
สำหรับคนที่มีความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง หรือเป็นโรคไตเรื้อรังแล้ว การควบคุมอาหารบางประเภท จะช่วยชะลอความเสื่อมของไต และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
- พลังงาน
อายุ < 60 ปี : พลังงานที่แนะนำ = 35 กิโลแคลอรี/นน. (IBW)/วัน*
อายุ ≥ 60 ปี : พลังงานที่แนะนำ = 30 – 35 กิโลแคลอรี/นน. (IBW)/วัน - โปรตีน
– วิธีดูแลไตให้แข็งแรงข้อหนึ่งที่สำคัญ คือการควบคุมโปรตีนที่ได้รับในแต่ละวัน
– ผู้ป่วยโรคไตทุกระยะ ที่เสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย แนะนำให้ทานโปรตีน ≤ 1.3 กรัม/นน. (IBW)/วัน
– ผู้ป่วยโรคไตระยะ 3b – 5 แนะนำให้ทานโปรตีน 0.6 – 0.8 กรัม/นน. (IBW)/วัน
– ผู้ป่วยโรคไตระยะ 4 – 5 ไม่ควรทานโปรตีนเกิน 0.4 กรัม/นน. (IBW)/วัน - คาร์โบไฮเดรต
– เลือกทานแป้งปลอดโปรตีน เช่น วุ้นเส้น, เส้นเซี่ยงไฮ้, สาคู เพื่อช่วยลดการทานโปรตีน ที่อาจแฝงอยู่ในคาร์โบไฮเดรต - ไขมัน
– ทานไขมันชนิดดี เช่น ไขมันพืช, กรดไขมันโอเมก้า 3
– ไขมันพืชที่แนะนำ เช่น น้ำมันรำข้าว, น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน, น้ำมันมะกอก
– ทานปลาที่มีไขมันดี เช่น ปลาทู, ปลากะพง ประมาณ 100 กรัม (7 ช้อนโต๊ะ) 2-3 ครั้ง/สัปดาห์
– จำกัดการทานไขมันทรานส์ ให้น้อยกว่า 1% ของพลังงานรวม - เกลือแร่
– โรคไตห้ามกินอะไร ที่จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นหรือไตทำงานหนักเกินไป ดังนั้นการควบคุมปริมาณเกลือแร่ จึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ
- โซเดียม < 2,000 มิลลิกรัม/วัน เทียบเท่ากับ
– เกลือ 1 ช้อนชา
– ผงชูรส 3 ½ ช้อนชา
– น้ำปลา 5 ช้อนชา
– กะปิ 8 ช้อนชา - โพแทสเซียม < 1,500 – 2,000 มิลลิกรัม/วัน
– ผักไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น ผักกาดขาว, ผักกาดหอม, กวางตุ้ง, ตำลึง
– ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น แอปเปิล, สาลี่, มะม่วง, สับปะรด - ฟอสฟอรัส < 800 – 1,000 มิลลิกรัม/วัน
- วิตามิน
– ควรเสริมด้วยวิตามินดี, วิตามินบีรวม, ธาตุเหล็ก, โฟลิก, สังกะสี
– ไม่แนะนำให้ทานวิตามินที่ไม่ละลายในไขมัน
– ระวังการทานวิตามินซีสูงเกิน 60 มิลลิกรัม/วัน
*หมายเหตุ IBW (Ideal Body Weight) หรือน้ำหนักอุดมคติ (กก.) สำหรับเพศชาย = ความสูง (ซม.) – 100 ส่วนในเพศหญิง = ความสูง (ซม.) – 105
2. โรคไตห้ามกินอะไรบ้าง?
- เครื่องปรุงที่มีโซเดียมสูง เช่น เกลือ, ผงชูรส, ซุปก้อน, ผงฟู
- ผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ถั่วฝักยาว, มะเขือเทศ, กล้วย, แตงโม
- เครื่องดื่มที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น นม, น้ำอัดลม, ชา, กาแฟ, ช็อกโกแลต
- อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนย, กะทิ, ไขมันสัตว์
- อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น อาหารทะเล, ไข่แดง, ขาหมู
- อาหารแปรรูป เช่น แฮม, ไส้กรอก, กุนเชียง, หมูหยอง
- อาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า, ปลาเค็ม
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
- ยาลูกกลอนที่มักผสมสเตียรอยด์
- สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ที่ไม่ได้มาตรฐาน
3. อาหารที่แนะนำ เพื่อการดูแลไตให้แข็งแรง
วิธีดูแลไตให้แข็งแรง นอกจากจะต้องรู้ว่า โรคไตห้ามกินอะไรแล้ว ยังควรรู้จักอาหารที่ควรทาน เพื่อช่วยชะลอความเสื่อมของไต และสร้างความแข็งแรงจากภายในด้วย
- ปลาที่มีโอเมก้า-3 เช่น ปลากะพง, ปลาทู, ปลาแซลมอน
- ผลไม้ตระกูลเบอรี่ เช่น แครนเบอรี่, มัลเบอรี่, บลูเบอรี่
- ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และมีโพแทสเซียมต่ำ เช่น แอปเปิล, มังคุด
- สมุนไพรจีนที่ช่วยดูแลไต เช่น ถั่งเช่า, โตวต๋ง
- สมุนไพรไทยบางชนิด เช่น หอมแดง, กระเทียม, มะขามป้อม, กระเจี๊ยบแดง
4. สมุนไพรเพื่อสุขภาพยูเฮอร์เบิล ฟื้นฟูไตให้แข็งแรง!
Uherbal เป็นทางเลือกในการดูแลไตให้แข็งแรง ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานในระดับสากล สามารถทำตามง่าย ๆ ได้ด้วยตัวเอง แค่ทานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง สารสกัดจากสมุนไพรเพื่อสุขภาพกว่า 16 ชนิด โดยเฉพาะแครนเบอรี่, ถั่งเช่า, โตวต๋ง, มะขามป้อม และกระเจี๊ยบแดง จะช่วยชะลอความเสื่อมของไต ดูแลไตให้กลับมาแข็งแรงขึ้น และอาจลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
5. สรุป
วิธีดูแลไตให้แข็งแรง ควรเริ่มจากเรียนรู้ปริมาณสารอาหารที่รับได้ในแต่ละวัน, รู้จักชนิดของอาหารที่ควรและไม่ควรกิน ซึ่งควรพยายามปรับพฤติกรรมการบริโภคให้ได้ตามเกณฑ์ เพื่อช่วยดูแลไตให้ทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยยับยั้งความเสื่อมของไต นอกจากนี้การทานสมุนไพรยูเฮอร์เบิลเป็นประจำ เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยเสริมให้ไตทำงานได้แข็งแรงขึ้น ช่วยให้คุณฟิตแอนด์เฟิร์มขึ้นได้จากภายใน เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ดูแลตัวเองได้ตั้งแต่ตื่นนอน
บทความแนะนำ
โรคไตมีกี่ระยะ แต่ละระยะมีอาการอย่างไร? และต้องกินอะไร ช่วยชะลอโรคไตได้ บทความนี้มีคำตอบ