ปัสสาวะนอกจากจะเป็นของเสีย ที่ช่วยขับสารพิษและสารชีวเคมีส่วนเกินออกจากร่างกายแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ที่คอยส่งสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติ ให้เรารับรู้อยู่เสมอ อย่างเช่น อาการ ปัสสาวะมีเลือดปน ซึ่งถือเป็นความผิดปกติ ที่บอกอะไรได้หลายอย่างเลยทีเดียว
1. ปัสสาวะมีเลือดปน ช่วงไหน ? บอกโรคได้ต่างกัน
1.1 เลือดออกช่วงต้นของการปัสสาวะ
ถ้าปัสสาวะมีเลือดปน ผู้หญิง – ผู้ชาย ตั้งแต่เริ่มเบ่ง หรือไหลนำหน้าน้ำปัสสาวะออกมา มักบ่งบอกถึงปัญหาของท่อปัสสาวะ และต่อมลูกหมากเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะเป็นเลือดสด และบางครั้งอาจมีปัสสาวะสีขาวขุ่นปนออกมาด้วย
1.2 เลือดออกช่วงท้ายของการปัสสาวะ
การที่มีเลือดออกตอนท้ายเมื่อถ่ายปัสสาวะ มักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติรอบบริเวณกระเพาะปัสสาวะ เช่น นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เลือดจึงไหลตามมา หลังจากที่น้ำปัสสาวะถูกบีบออกหมดแล้ว
1.3 เลือดออกตลอดการปัสสาวะ
ในกรณีที่มีเลือดปนตลอดการปัสสาวะ จะเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะส่วนบน แต่หากรอยโรคมีขนาดใหญ่หรือปัญหาถูกทิ้งไว้นาน อวัยวะส่วนอื่นก็สามารถทำให้ปัสสาวะเป็นเลือดตลอดลำได้เช่นกัน
2. 10 สาเหตุ ของปัสสาวะมีเลือดปน ผู้หญิง – ผู้ชาย พร้อมวิธีรักษาเบื้องต้น
2.1 เกิดจากอุบัติเหตุ
อุบัติเหตุบริเวณท้อง ท้องน้อย และหลัง เช่น ถูกชนท้องน้อย, กระแทกหลัง, ถูกยิงท้อง หรือการมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง จะทำให้ทางเดินปัสสาวะฉีกขาดหรือบอบช้ำได้ ถ้าถามว่า ฉี่เป็นเลือดกี่วันหาย ? ก็คงต้องพิจารณาจากสาเหตุเป็นหลักเลย
2.2 การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
ทางเดินปัสสาวะสามารถติดเชื้อ จนทำให้มีปัสสาวะปนเลือดได้ทุกตำแหน่ง เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, ท่อปัสสาวะอักเสบ, กรวยไตอักเสบ ซึ่งวิธีรักษาปัสสาวะเป็นเลือดด้วยสาเหตุนี้ จะใช้การกินยาปฏิชีวนะ 7 – 10 วัน
2.3 นิ่วในทางเดินปัสสาวะ
อาการปัสสาวะมีเลือดปน อาจเกิดจากนิ่วอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในไต, นิ่วในท่อไต, นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ โดยปัสสาวะอาจมีสีแดงสด สีน้ำล้างเนื้อ หรือสีขาวเหลืองปนตะกอน ซึ่งการดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 3 ลิตร เป็นการรักษาที่คุณสามารถทำได้เลยทันที
2.4 โรคไตบางชนิด
กลุ่มอาการไตอักเสบ เช่น Glomerulonephritis, IgA nephropathy, Lupus Nephritis รวมถึงการอักเสบจนทำให้ไตวายเฉียบพลัน เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ของการปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่ตาเปล่ามองไม่เห็น (Microscopic Hematuria) ต้องรักษาโดยใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
2.5 มะเร็งทางเดินปัสสาวะ
มะเร็งทางเดินปัสสาวะทั้งหมด เช่น มะเร็งไต, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, มะเร็งท่อไต, มะเร็งต่อมลูกหมาก มักทำให้สีของปัสสาวะ ออกโทนน้ำตาลแดง หรือแดงเป็นสีเลือดสด ซึ่งวิธีรักษาปัสสาวะเป็นเลือดจากมะเร็ง จะต้องทำควบคู่กันทั้งผ่าตัด ฉายแสง และรับยาเคมีบำบัด
2.6 ต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมาก วางตัวอยู่ตรงทางเชื่อมระหว่างท่อปัสสาวะตอนต้น และกระเพาะปัสสาวะ ดังนั้นหากต่อมลูกหมากโตขึ้น ก็จะบีบท่อปัสสาวะให้เล็กลง จนทำให้เกิดอาการปัสสาวะลำบากต่าง ๆ เช่น ปัสสาวะไม่ออก, ปัสสาวะไม่สุด, ปัสสาวะเล็ด รวมถึงปัสสาวะมีเลือดปนด้วย
2.7 เลือดปนในน้ำอสุจิ
บางครั้งปัสสาวะที่เราเห็นว่ามีเลือดปน ความจริงแล้วอาจเป็นเลือด ที่ปนออกมาจากน้ำอสุจิก็ได้ พบได้ในคนที่ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์, ท่อนำอสุจิอักเสบ, เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังทำหมัน หรือผ่าตัดต่อมลูกหมาก หากถามว่า ฉี่เป็นเลือดกี่วันหาย ก็น่าจะอยู่ประมาณ 7 – 14 วัน
2.8 เลือดออกจากช่องคลอด
ปัสสาวะมีเลือดปน ผู้หญิง ก็อาจเป็นเลือดจากระบบสืบพันธุ์ ที่ปนออกมาเหมือนกับในเพศชาย สาเหตุเช่น ประจำเดือน, การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์, เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งควรปรึกษาสูติ – นรีแพทย์ก่อนเป็นอันดับแรก
2.9 องค์ประกอบของเลือดผิดปกติ
หากขั้นตอนการแข็งตัวของเลือดบกพร่อง ก็สามารถเป็นต้นเหตุของปัญหาได้เช่นกัน อย่างโรคเกล็ดเลือดต่ำ, โรคฮีโมฟีเลีย, โรคทางพันธุกรรม von Willebrand Disease ซึ่งวิธีรักษาปัสสาวะเป็นเลือด คงต้องปรึกษาอายุรแพทย์โรคเลือดโดยตรง
2.10 การใช้ยาบางชนิด
การกินยาบางชนิด ที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น วาฟาริน (Warfarin), แอสไพริน (Aspirin), ยาปฏิชีวนะบางตัว, ยาเคมีบำบัดบางกลุ่ม สามารถทำให้เลือดออกในปัสสาวะได้แน่นอน ซึ่งคงไม่สามารถตอบได้ว่า ฉี่เป็นเลือดกี่วันหาย หากยังไม่ได้หยุดยา
3. UHERBAL ทางเลือกในการดูแลปัสสาวะจากธรรมชาติ
ยูเฮอร์เบิล สมุนไพรสกัดจากธรรมชาติ อัดแน่นด้วยสรรพคุณในการดูแลทางเดินปัสสาวะคับคั่ง นำโดยแครนเบอรี, โสม, ถังเช่า, เห็ดหลินจือ, ไลโคปีน, เมล็ดฟักทอง และสมุนไพรอีกกว่า 10 ชนิด ช่วยลดการอักเสบจากภายใน, ลดเสี่ยงติดเชื้อ, ลดโอกาสเกิดนิ่ว และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ จึงช่วยลดโอกาสเกิดปัสสาวะปนเลือดได้จากต้นตอ
4. สรุป
มีสาเหตุมากมาย ที่จะทำให้เราปัสสาวะมีเลือดปนได้ ซึ่งการรักษาเป็นเพียงการแก้ไขที่ปลายเหตุเท่านั้น ทางที่ดีที่สุด คือหมั่นสังเกตความผิดปกติ และดูแลร่างกายอย่างสม่ำเสมอ นี่คือสิ่งที่คุณสามารถเริ่มได้เลยทันที !
บทความแนะนำ
[Checklist] อาการต่อมลูกหมากอักเสบ สาเหตุเกิดจากอะไร ? บทความนี้มีคำตอบ