7 วิธีรักษา ปัสสาวะไม่สุด ฉี่ไม่สุด อาการปวดหน่วง กินยาอะไรดี ?

7 วิธีรักษา ปัสสาวะไม่สุด ฉี่ไม่สุด อาการปวดหน่วง กินยาอะไรดี ?

คุณเคยมีอาการผิดปกติ เวลาปัสสาวะบ้างไหม? เช่น รู้สึกเหมือน ปัสสาวะไม่สุด ฉี่ไม่สุดตลอดเวลา หรือต้องออกแรงเบ่งตอนปัสสาวะ บางครั้งพอจะก้าวออกจากห้องน้ำ ก็ต้องกลับมาปัสสาวะซ้ำ ซึ่งสุดท้ายแล้ว อาจมีหรือไม่มีน้ำปัสสาวะออกมาก็ได้ หากคุณมีอาการใกล้เคียงแบบนี้ คุณอาจต้องเริ่มหาวิธีรักษา ปัสสาวะไม่สุดแล้ว

1. วิธีรักษา ปัสสาวะไม่สุด ที่ดีที่สุด ควรเริ่มจากอะไร ?

อาการปัสสาวะไม่สุด ในผู้ชายและในผู้หญิง เป็นสัญญาณเตือนของภาวะผิดปกติที่หลากหลาย ไม่จำเพาะต่อโรคใดโรคหนึ่ง ดังนั้นหากต้องการรักษาอาการปัสสาวะไม่สุด (Incomplete Bladder Emptying) ควรเริ่มจากมองหาสาเหตุ ที่น่าจะเป็นไปได้เป็นอันดับแรก ซึ่งควรพิจารณาร่วมกับอาการผิดปกติอื่นด้วย

2. 7 วิธีรักษา อาการปัสสาวะไม่สุด ฉี่ไม่สุด อาการปวดหน่วง

การค้นหาสาเหตุของอาการปัสสาวะไม่สุด ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับตรวจทางห้องปฏิบัติการ แต่ด้วยข้อจำกัดบางประการ ทำให้หลายคนต้องการดูแลตัวเองเบื้องต้นก่อนพบแพทย์ เป็นที่มาของการตั้งคำถามยอดฮิต ในโลกออนไลน์ว่า อาการปัสสาวะไม่สุด กินยาอะไรดี ดูแลตัวเองวิธีไหนได้บ้าง ? ขอย้ำอีกครั้งว่า ต้องดูจากสาเหตุเป็นหลักเลย

7 วิธีรักษาอาการ ปัสสาวะไม่สุด ฉี่ไม่สุด อาการปวดหน่วง
7 วิธีรักษาอาการปัสสาวะไม่สุด ฉี่ไม่สุด อาการปวดหน่วง

2.1 โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infections)

ถ้าเป็นอาการปัสสาวะไม่สุด ที่เกิดการจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เช่น กรวยไตอักเสบ, ท่อปัสสาวะอักเสบ, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งมักมีปัสสาวะเป็นเลือด, ปัสสาวะขุ่น, ปัสสาวะแสบขัด, ปัสสาวะบ่อย, ปวดท้องน้อย และเป็นไข้ร่วมด้วย ควรเลือกยากลุ่ม Fluoroquinolone (Norfloxacin, Ofloxacin, Ciprofloxacin) แต่ถ้าเป็นเพศชาย, หญิงตั้งครรภ์, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง แนะนำให้พบแพทย์ทันทีจะดีที่สุด

2.2 โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Infections)

กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) เช่น โรคหนองใน, ซิฟิลิส, เริม, หูดหงอนไก่ ถึงแม้ว่าจะทำให้เกิดอาการปัสสาวะไม่สุด ในผู้ชายได้น้อยกว่าผู้หญิง แต่หากติดเชื้อแล้ว อาการที่เกิดขึ้นกับเพศชาย อาจรุนแรงกว่าด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงควรได้รับยาปฏิชีวนะกลุ่ม Cephalosporins ร่วมกับ Macrolides แบบฉีดและแบบเม็ด ตั้งแต่เริ่มมีอาการ

2.3 ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน (Pelvic Organ Prolapse)

ภาวะนี้ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุ ของอาการปัสสาวะไม่สุด ผู้หญิงหลังคลอด หรือหญิงที่มีบุตรหลายคน เกิดจากการที่กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน จนทำให้อวัยวะภายใน เช่น กระเพาะปัสสาวะ, ท่อปัสสาวะ, มดลูก, ลำไส้ตรง เคลื่อนลงมาอยู่ผิดตำแหน่ง จนเกิดการกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะได้ไม่สุด ซึ่งการกายบริหาร อาจช่วยกระชับกล้ามเนื้อได้

2.4 กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจากระบบประสาท (Neurogenic Bladder)

วิธีรักษา ปัสสาวะไม่สุด ที่มีสาเหตุจากระบบประสาททำงานผิดปกติ จนไม่สามารถควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้นั้น จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพราะการรักษาหลัก อยู่ที่การควบคุมอาการของโรคที่เป็น เช่น โรคเบาหวาน, โรคพาร์กินสัน, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) เป็นต้น

2.5 ภาวะช่องคลอดแห้ง (Vaginal Dryness)

อีกสาเหตุหลัก ของอาการปัสสาวะไม่สุด ผู้หญิงวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน เกิดจากการที่ฮอร์โมนลดลง ทำให้เยื่อบุช่องคลอดฝ่อตัว (Vulvovaginal Atrophy) ซึ่งการรักษามีทั้งการใช้ยาทา ใส่ห่วง และทานยา โดยส่วนใหญ่จะมีฮอร์โมนเป็นส่วนประกอบหลัก

2.6 มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Stones)

ถ้าปัสสาวะไม่สุด กินยาอะไรดี ? ในกรณีของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะที่มีขนาดเล็ก แพทย์อาจแนะนำให้เริ่มจากการดื่มน้ำประมาณ 3 – 4 ลิตรต่อวัน แล้วรอประเมินซ้ำอีกครั้ง โดยแนะนำให้ทานสมุนไพรสลายนิ่ว อย่างเมล็ดฟักทอง, ใบหม่อน, แครนเบอรีร่วมด้วย

2.7 ภาวะต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia)

วิธีรักษา ปัสสาวะไม่สุดในเพศชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ต้องคำนึงถึงสาเหตุนี้ไว้เสมอ โดยอาการต่อมลูกหมากโต มีตั้งแต่ต้องออกแรงเบ่งตอนปัสสาวะ, ปัสสาวะลำเล็กลง, มีปัสสาวะหยดตอนท้าย จนถึงขั้นปัสสาวะราด อาจเลือกทานสมุนไพร ร่วมกับยาแผนปัจจุบันก็ได้

3. เคล็ดลับ การดูแลตัวเอง เมื่อมีอาการ ปัสสาวะไม่สุด ในผู้ชาย – ผู้หญิง

  • โน้มตัวไปข้างหน้าขณะถ่ายปัสสาวะ
  • กดบริเวณท้องน้อยเบา ๆ หรือลูบเอวด้านหลัง ขณะปัสสาวะ
  • ค่อย ๆ หายใจออก ตอนเบ่งปัสสาวะ เพื่อเพิ่มความดันในช่องท้อง
  • เปิดเสียงน้ำไหลคลอ อาจช่วยกระตุ้นการปัสสาวะได้
  • พยายามปัสสาวะซ้ำอีกครั้ง ก่อนออกจากห้องน้ำ
  • ขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หลังจากปัสสาวะเสร็จ

4. ดูแลอาการ ปัสสาวะไม่สุด ผู้หญิง – ผู้ชายด้วย Uherbal

ดูแลอาการ ปัสสาวะไม่สุด ผู้หญิง - ผู้ชายด้วย Uherbal
ดูแลอาการปัสสาวะไม่สุด ผู้หญิง – ผู้ชายด้วย Uherbal

อาการปัสสาวะไม่สุด กินยาอะไรนั้น ควรพิจารณาจากสาเหตุเป็นหลัก แต่หากคุณยังไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไร หรือต้องการป้องกันก่อนเกิดปัญหา การดูแลตัวเองด้วยสมุนไพร Uherbal M สำหรับผู้ชายและ Uherbal W สำหรับผู้หญิง ที่อุดมด้วยสมุนไพรหลายสิบชนิด นับเป็นทางเลือกที่ดีและปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงจากติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ, ปัสสาวะไม่สุด, ฉี่แสบขัด, ฉี่เล็ด, ฉี่บ่อย, กลั้นปัสสาวะไม่อยู่, ไตวาย, นิ่วใทางเดินปัสสาวะ และต่อมลูกหมากโตได้มากกว่าเดิม

5. สรุป

วิธีรักษา ปัสสาวะไม่สุด ควรพิจารณาตามสาเหตุเป็นหลัก เพื่อที่จะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม แต่หากคุณกำลังมองหาตัวช่วย สำหรับฟื้นฟูประสิทธิภาพ และเสริมการทำงาน ของทางเดินปัสสาวะแบบครอบคลุม สมุนไพรยูเฮอร์เบิลคือทางเลือกระดับพรีเมียม ที่ได้รับการคัดสรรมาแล้วอย่างดี ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง มั่นใจได้เลย !

บทความแนะนำ

สัญญาณอันตราย ฉี่ไม่สุด ปวดหน่วง มีอะไรบ้าง พร้อมวิธีรักษาแบบละเอียด บทความนี้มีคำตอบ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *