กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติของการปัสสาวะ รบกวนการใช้ชีวิต ทำให้ไม่อยากออกจากบ้าน ไม่อยากเดินทาง และขัดจังหวะการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรีย ที่ปนเปื้อนอยู่ในอุจจาระ แต่มีบางรายที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากการใช้ยาบางชนิด, จากสารเคมีที่ใช้ดูแลสุขอนามัย, จากรังสีบำบัดโรคมะเร็ง หรืออาจเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นได้ แต่ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไร ก็ทำให้มีอาการปัสสาวะผิดปกติได้ไม่ต่างกัน
1. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการที่รบกวนการใช้ชีวิต
1.1 ปวดหน่วงท้องน้อย
ตำแหน่งของกระเพาะปัสสาวะอยู่ตรงกลางท้องน้อย จึงทำให้มีอาการปวดหน่วงท้องน้อยเป็นหลัก ปวดได้ตลอดเวลาทั้งก่อน-หลังปัสสาวะ และยังสามารถปวดร้าวไปที่หลังส่วนล่าง, ท่อปัสสาวะ และอวัยวะเพศได้ด้วย
1.2 ปัสสาวะเป็นเลือด
หากมีการอักเสบไม่มาก อาจพบว่ามีเลือดปนในช่วงท้ายของการปัสสาวะ หรือทำให้น้ำปัสสาวะมีสีแดงจางหรือสีชมพูอ่อน แต่ถ้ามีอาการอักเสบรุนแรง อาจมีเลือดสดปนปัสสาวะทั้งหมดได้
1.3 ปัสสาวะแสบขัด
เป็นความยากลำบากในการเบ่งปัสสาวะ คล้ายกับอาการของนิ่ว ซึ่งเกิดจากการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ โดยนอกจากจะปวดท้องน้อยแล้ว อาจรู้สึกแสบท่อปัสสาวะร่วมด้วย จนต้องค่อย ๆ ปัสสาวะออกมา
1.4 ปัสสาวะบ่อย
เมื่อกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะอักเสบ จะเกิดการกระตุ้นเยื่อบุภายใน ทำให้ร่างกายรู้สึกเหมือนมีน้ำปัสสาวะเต็มอยู่ตลอดเวลา จนรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย ๆ
1.5 ปัสสาวะราด
เป็นอาการที่ทำให้ต้องปัสสาวะทันทีเมื่อรู้สึกปวด โดยไม่สามารถควบคุมได้ และถึงแม้เพิ่งปัสสาวะเสร็จ ก็อาจมีปัสสาวะกะปริบกะปรอยอยู่เรื่อย ๆ
1.6 คลื่นไส้อาเจียน
อาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร สามารถเกิดได้ขณะที่มีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ หรือบางคนอาจมีท้องเสียร่วมด้วย ซึ่งเป็นผลจากการหลั่งสารอักเสบ เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค
1.7 มีไข้
หากมีการติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะแต่ไม่ได้ดูแล อาจทำให้การติดเชื้อลุกลามเข้าในกระแสเลือด จนมีไข้สูง, ชีพจรเร็ว, หายใจเร็ว และความดันโลหิตต่ำ ซึ่งเป็นอาการของภาวะช็อกที่รุนแรงได้
2. ดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ?
2.1 ดื่มน้ำให้เพียงพอ
การดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร หรือดื่มจนปัสสาวะมีสีเหลืองปกติ จะช่วยบรรเทาอาการกระเพาะปัสสาวะ, ท่อไต, ไต และท่อปัสสาวะอักเสบ โดยเฉพาะหากเป็นการอักเสบที่เกิดจากยา หรือหลังจากได้รับการฉายแสงบำบัดโรคมะเร็ง
2.2 หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ห้ามกินอะไรที่จะระคายเคืองทางเดินปัสสาวะ จนอาจทำให้อาการแย่ลง ได้แก่
- อาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ส้ม, มะนาว, มะเขือเทศ
- อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น โกโก้, ชา, กาแฟ
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา, เบียร์, ไวน์, ค็อกเทล
- เครื่องดื่มที่อัดแก๊ส (Carbonated Drink) เช่น โซดา, น้ำอัดลม
- อาหารที่มีรสเผ็ดหรือรสจัด
2.3 หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายคีเกล
การออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานคีเกล (Kegel Exercise) จะช่วยให้กล้ามเนื้อ ที่ใช้ในการขับปัสสาวะ, ขับถ่าย และการมีเพศสัมพันธ์เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ แต่ควรงดขณะที่กระเพาะปัสสาวะยังอักเสบ เพราะจะทำให้อาการปวดท้องแย่ลงได้
2.4 ทานยาปฏิชีวนะ
การได้รับยาฆ่าเชื้อ (Antibiotics) เป็นการดูแลอาการติดเชื้อโดยตรง ให้อาการปวดท้อง, ปัสสาวะเป็นเลือด และอาการปัสสาวะขัดต่าง ๆ ดีขึ้น ซึ่งต้องทานอย่างต่อเนื่องประมาณ 7-14 วัน ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของร่างกาย
2.5 ทานสมุนไพรแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
นอกจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ห้ามกินอะไรที่ทำให้ระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะแล้ว ยังควรดูแลเสริมด้วยสมุนไพร Uherbal ที่จะช่วยลดอาการอักเสบ ทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้ดีขึ้น จนกลับมาปัสสาวะได้อย่างปกติโดยเร็ว
3. วิธีป้องกันไม่ให้ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะ เพราะจะกระตุ้นให้เกิดการติดเชื้อ
- ทำความสะอาดอวัยวะเพศอย่างถูกวิธี จากหน้าไปหลัง เพื่อป้องกันการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- มีกิจกรรมทางเพศที่ปลอดภัย จะช่วยลดโอกาสติดเชื้อที่จะทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบ และติดเชื้อลามมาถึงกระเพาะปัสสาวะได้
- พยายามปัสสาวะทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย ที่อาจเกิดจากการร่วมเพศ
- ดูแลตัวเองด้วยสมุนไพรแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ Uherbal เป็นประจำ อาจช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้
4. สรุป
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นการอักเสบที่ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ ทำให้มีอาการปวดหน่วงท้องน้อย, ปัสสาวะเป็นเลือด, ปัสสาวะแสบขัด, ปัสสาวะบ่อย, ปัสสาวะราด และหากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจทำให้ลุกลามมีไข้สูง กลายเป็นติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ดังนั้นจึงควรดูแลตัวเอง ด้วยการดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร, หลีกเลี่ยงอาหารและการออกกำลังกายบางประเภท รวมทั้งควรเสริมด้วยสมุนไพรแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ Uherbal ที่จะช่วยดูแลการทำงานของทางเดินปัสสาวะ, ลดการอักเสบ, กำจัดอนุมูลอิสระ และต่อสู้กับเชื้อโรค เพื่อช่วยให้การขับปัสสาวะกลับมาเป็นปกติโดยเร็ว และอาจทานต่อเนื่องเป็นประจำ เพื่อดูแลตั้งแต่ยังไม่มีอาการ จะได้ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการไม่พึงประสงค์ ที่จะเกิดตามมาอีกมากมาย
บทความแนะนำ
รู้ยัง ! เป็นนิ่วกินอะไรหาย ตัวช่วยสลายก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ โดยไม่ต้องผ่าตัด บทความนี้มีคำตอบ