[เช็กปัจจัยเสี่ยง] นิ่วในถุงน้ำดี อาการและการรักษา ถ้าไม่รักษา อันตรายถึงชีวิต !! อย่าละเลย

นิ่วในถุงน้ำดี อาการและการรักษา ถ้าไม่รักษา อันตรายถึงชีวิต !! อย่าละเลย

นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones, Cholelithiasis) เป็นโรคที่หลายคนมักเข้าใจผิด คิดว่าเป็นอาการปวดจุกท้อง จากแผลในกระเพาะอาหาร หรือจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา เพราะลักษณะการปวด และตำแหน่งที่ปวดใกล้เคียงกันมาก หลายครั้งจึงซื้อยากินเอง โดยไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ ทำให้ก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสุดท้าย อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้


นิ่วในถุงน้ำดี  คืออะไร

1. นิ่วในถุงน้ำดี มีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง ?


นิ่วในถุงน้ำดี มีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง ?

  • เพศ : เพศหญิง มีความเสี่ยงมากกว่าเพศชาย 3 เท่า
  • อายุ : มากกว่า 40 ปี
  • น้ำหนัก :  –
    – ดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 30 กก./ม.2
    – เคยลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็ว
  • อาหาร : ชอบกินอาหารที่มีไขมันสูง
  • ประวัติการตั้งครรภ์ : ตั้งครรภ์หลายครั้ง
  • ประวัติโรคประจำตัว : เช่น
    – โรคไขมันในเลือดสูง
    – โรคเบาหวาน
    – โรคเลือดบางชนิด เช่น โรคธาลัสซีเมีย, โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle Cell Disease)
  • ประวัติการผ่าตัด : เช่น
    – คนที่ผ่าตัดเอาลำไส้เล็กส่วนปลายออก (Terminal ileal resection)
    – เคยผ่าตัดเอากระเพาะอาหารออก
  • ประวัติการใช้ยา : เช่น 
    – ยาคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจน
    – ยา Somatostatin analogues
  • ประวัติครอบครัว : มีบิดามารดา, พี่น้อง หรือลูก (First-degree relatives) เป็นนิ่วที่ถุงน้ำดี จะเพิ่มความเสี่ยงขึ้นเป็น 2 เท่า

2. หากมีนิ่วอยู่ในถุงน้ำดี จะมีอาการอย่างไร ?

มีการเก็บข้อมูลพบว่า ผู้ใหญ่ประมาณ 10-15% มีนิ่วอยู่ในถุงน้ำดี แต่ประมาณ 80% มักไม่มีอาการ (Asymptomatic gallstone) โดยมักตรวจพบโดยบังเอิญ หรือพบจากการตรวจร่างกายประจำปี ซึ่งการรักษาด้วยการสลายนิ่วในถุงน้ำดี มักไม่จำเป็น ยกเว้นคนไข้บางกลุ่มที่เป็นโรคเลือด, โรคเบาหวาน, นิ่วมีขนาดใหญ่ หรือถุงน้ำดีมีความผิดปกติ


 หากมีนิ่วอยู่ในถุงน้ำดี จะมีอาการอย่างไร ?

ส่วนคนที่มีนิ่วแล้วมีอาการ (Symptomatic gallstone) มักพบความผิดปกติดังต่อไปนี้

  • ปวดท้อง (Biliary colic)
    • ตำแหน่งที่ปวด : บริเวณลิ้นปี่ หรือชายโครงด้านขวา โดยอาจปวดร้าวไปไหล่ขวา, ปวดทะลุหลังด้านบนขวา หรือร้าวไปที่ระหว่างสะบักได้
    • ลักษณะการปวด : มีอาการปวดท้องขึ้นมาทันที ปวดอย่างรุนแรง ปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วจะปวดคงที่อยู่อีก 1-5 ชม. แล้วจะค่อย ๆ ดีขึ้น 
    • เวลาที่ปวด : มักปวดสัมพันธ์กับมื้ออาหารประมาณ 50% อาจปวดมากสุดในช่วง ชม.แรก หลังกินอาหาร โดยเฉพาะในมื้อที่มีอาหารไขมันสูง
  • ท้องอืด แน่นท้อง 
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ไข้หนาวสั่น, ตัวตาเหลือง, ปัสสาวะสีผิดปกติ อาจพบได้ในรายที่เกิดภาวะแทรกซ้อนแล้ว

3. นิ่วในถุงน้ำดี ถ้าไม่รักษา อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน อันตรายถึงชีวิต !

3.1 ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute Cholecystitis)


ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต

เกิดจากการที่นิ่วในถุงน้ำดี ไหลเข้าไปอุดท่อของถุงน้ำดี (Cystic duct) จนทำให้เกิดการอุดตัน ถุงน้ำดีจึงอักเสบ บวม และเกิดการติดเชื้อ ซึ่งนอกจากอาการปวดท้องแล้ว ยังทำให้เกิดไข้สูง และคลื่นไส้อาเจียนได้ หากไม่รักษาอาจเกิดหนองในถุงน้ำดี, ผนังถุงน้ำดีทะลุ และติดเชื้อในกระแสเลือด

3.2 นิ่วอุดตันท่อน้ำดี (Choledocholithiasis, CBD Stone)


นิ่วอุดตันท่อน้ำดี อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

เป็นการอุดตันของนิ่ว ที่ไหลผ่านไปจนถึงท่อน้ำดีรวม (Common Bile Duct, CBD) ทำให้มีน้ำดีค้างอยู่ในถุงน้ำดี แต่บางครั้งนิ่วอาจหลุดออกเองได้ ทำให้ตัวเหลือง ตาเหลืองชั่วคราว และอาจพบอุจจาระสีซีดในบางราย

3.3 ท่อน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute Cholangitis)

นิ่วในถุงน้ำดี ถ้าไม่รักษาจะทำให้เกิดท่อน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน จนอาจทำให้ท่อน้ำดีเป็นหนอง และมีการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง จากการที่นิ่วอุดตันท่อน้ำดีได้

3.4 ตับอ่อนอักเสบจากนิ่ว (Gallstone Pancreatitis)

นิ่วในถุงน้ำดี สามารถไหลออกไปอุดตันท่อของตับอ่อน (Pancreatic duct) จนทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบ ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดท้องทะลุหลัง ร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน

3.5 ลำไส้อุดตันจากนิ่ว (Gallstone Ileus)

นิ่วขนาดใหญ่สามารถหลุดเข้าลำไส้ ผ่านการเชื่อมติดกันของถุงน้ำดีกับลำไส้ (Biliary-enteric fistula) จนทำให้มีลำไส้อุดตันได้


 ลำไส้อุดตันจากนิ่ว อันตรายไหม

4. นิ่วในถุงน้ำดี ถ้าไม่รักษาด้วยการผ่าตัด ได้ไหม ?


หากเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้ว การผ่าตัดเพื่อรักษาสาเหตุและบรรเทาอาการ เช่น ผ่าตัดเพื่อนำนิ่วออก, ผ่าตัดเปิดท่อน้ำดี, ผ่าตัดเปิดลำไส้, ผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก เป็นทางเลือกที่แพทย์จะพิจารณาทำเป็นอันดับต้น ๆ แต่หากเป็นนิ่วชนิดที่ไม่แสดงอาการ อาจไม่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ซึ่งการสลายนิ่วในถุงน้ำดี ด้วยยาสมุนไพร UHERBAL เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่คุณจะสามารถดูแลตัวเองได้ เพราะนิ่วในถุงน้ำดี ถ้าไม่ได้รักษาด้วยการผ่าตัด อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ นอกจากนี้ ยังควรดูแลเรื่องอาหารการกินร่วมด้วย ซึ่งคนที่มีนิ่วในถุงน้ำดี ห้ามกินอะไรที่มีไขมันสูง เพราะจะยิ่งทำให้เกิดการสะสมของนิ่ว ยิ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวด หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

5. สรุป


สมุนไพร UHERBAL ช่วยสลายนิ่วได้

นิ่วในถุงน้ำดี มีปัจจัยเสี่ยงก่อโรคมากมาย โดยเฉพาะเพศหญิง ที่อายุมากกว่า 40 ปี, มีลูกหลายคน และน้ำหนักเกิน จะทำให้มีอาการปวดท้องที่ลิ้นปี่ หรือชายโครงขวาได้อย่างรุนแรง ซึ่งหากละเลย ปล่อยทิ้งไว้ จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ แต่การสลายนิ่วในถุงน้ำดีด้วยสมุนไพร UHERBAL เป็นทางเลือกจากธรรมชาติ ที่จะช่วยให้คุณดูแลนิ่วและทางเดินอาหารได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่ออาการเจ็บปวดทรมาน หรือภาวะแทรกซ้อน ที่อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต

บทความแนะนำ

7 สาเหตุปัสสาวะขุ่น บ่งบอกโรคร้ายต่าง ๆ ที่ไม่อาจมองข้ามได้ พร้อมวิธีป้องกัน! สามารถอ่านได้ในบทความนี้


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *