คุณกำลังมีอาการแบบนี้ไหม ? ก่อนนอนไม่ได้ดื่มน้ำเยอะ แต่ปัสสาวะบ่อยมาก ต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำทั้งคืน สงสัยไหมว่า ปัสสาวะบ่อยขนาดนี้ ฉี่บ่อยตอนกลางคืนเป็นโรคอะไร ? อันตรายมากไหม ต้องจัดการอย่างไร ? อย่ารอช้า มาหาคำตอบกัน
1. ฉี่บ่อยตอนกลางคืนเป็นโรคอะไร ที่อันตรายไหม ?
นิยามของคำว่า ปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia) หมายถึงการตื่นขึ้นมาปัสสาวะมากกว่า 1 ครั้ง หลังจากหลับสนิทแล้ว โดยไม่นับรวมการปัสสาวะรดที่นอน หรือปัสสาวะครั้งแรกหลังตื่นนอน ในคนอายุ 70 ปีขึ้นไปพบได้มากกว่า 70% ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ในหลากหลายมิติเลยทีเดียว เช่น
- ทำให้อ่อนเพลีย, หลงลืม, ไม่มีสมาธิ, อารมณ์เสียตลอดทั้งวัน
- เพิ่มความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกระดูกสะโพกหัก อาจทำให้กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงถาวร
- รบกวนวงจรการนอน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หัวใจขาดเลือด, ซึมเศร้าในระยะยาว
จากสถิติพบว่า ภาวะฉี่บ่อยตอนกลางคืน ผู้หญิง เพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตขึ้น 20% ส่วนในผู้ชาย 15% ซึ่งถือว่า อันตรายในขั้นที่มองข้ามไม่ได้เลย
2. ผู้สูงอายุ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน เกิดจากอะไรได้บ้าง ?
นอกจากปัญหาการนอนหลับไม่สนิท ที่ทำให้ต้องตื่นกลางดึก จนถือโอกาสมาเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ แล้ว ยังสามารถแบ่งสาเหตุ ของการปัสสาวะบ่อยกลางคืนได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
2.1 กระเพาะปัสสาวะ มีปัญหาในการเก็บน้ำปัสสาวะ (Bladder Storage Disorders)
เป็นกลุ่มที่ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะถี่ เข้าห้องน้ำหลายครั้งต่อคืน แต่ปริมาณน้ำปัสสาวะไม่ได้เพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งสาเหตุมาจากทางเดินปัสสาวะส่วนล่างเป็นหลัก
- การอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
สำหรับผู้สูงอายุ ฉี่บ่อยตอนกลางคืนเป็นโรคอะไร ที่อาจมีสาเหตุมาจากการบล็อกทางออกของน้ำปัสสาวะ จนทำให้ปัสสาวะเล็ดกลางคืน หรือปัสสาวะกะปริบกะปรอยก็ได้ อย่างที่พบในโรคต่อมลูกหมากโต, ต่อมลูกหมากอักเสบ, มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, อุ้งเชิงกรานหย่อน - นิ่วในทางเดินปัสสาวะ
ในบางกรณี ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน เกิดจากตะกอนของแร่ธาตุ ที่สะสมในทางเดินปัสสาวะ จนกลายเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งจะกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะตลอดคืนในที่สุด - กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ถือเป็นโรคในกลุ่มติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ที่เป็นต้นเหตุของอาการฉี่บ่อยตอนกลางคืน ผู้หญิงสูงอายุจะมีโอกาสเกิดมากกว่าผู้ชาย โดยอาจมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด, ปัสสาวะแสบขัด, ปัสสาวะราด, ปวดท้องน้อย และเป็นไข้ร่วมด้วย - กระเพาะปัสสาวะทำงานไวเกิน (Overactive Bladder, OAB)
โอเอบี เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่จะทำให้ผู้สูงวัยปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ร่วมกับกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และปัสสาวะเล็ดราดได้แน่นอน - กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจากระบบประสาท (Neurogenic Bladder)
ฉี่บ่อยตอนกลางคืนเป็นโรคอะไร ที่อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ อย่างที่พบในโรคอัมพฤกษ์อัมพาต, พาร์กินสัน หรือเบาหวานก็ได้ - การกดเบียดจากภายนอก
หากมีแรงกดเบียดจากภายนอก เช่น เนื้องอกลำไส้, เนื้องอกมดลูก ก็อาจทำให้ฉี่บ่อยตอนกลางคืน วิธีแก้หลัก คือการผ่าตัดเพื่อนำก้อนเหล่านั้นออกไป
2.2 ผลิตน้ำปัสสาวะเพิ่มขึ้น เฉพาะช่วงกลางคืน (Nocturnal Polyuria)
สาเหตุหลักของกลุ่มนี้ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน เกิดจากมีน้ำปัสสาวะเยอะขึ้นแค่ช่วงกลางคืน โดยจะมีปริมาณมากกว่า 33% เมื่อเทียบกับตลอด 24 ชั่วโมง จนส่งผลให้ผู้สูงอายุปัสสาวะบ่อยขึ้น เช่น ภาวะที่ร่างกายบวมน้ำจากไตวาย ตับวาย หัวใจวาย รวมทั้งการหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea, OSA), การดื่มชากาแฟ และการใช้ยาบางชนิด
2.3 ผลิตน้ำปัสสาวะเพิ่มขึ้นทั้งวัน (24-Hour / Global Polyuria)
ในกลุ่มนี้จะมีการสร้างน้ำปัสสาวะมากกว่า 40 มล./น้ำหนัก 1 กก./24 ชม. แปลว่า ถ้าคุณหนัก 60 กก. จะมีน้ำปัสสาวะเกิน 2,400 มล. ต่อวัน ซึ่งอาจเกิดจากการดื่มน้ำเยอะเกินไป, โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี จนทำให้น้ำตาลในปัสสาวะสูง หรืออาจเป็นโรคเบาจืดก็ได้ ซึ่งหากสาเหตุเหล่านี้ ทำให้เกิดอาการฉี่บ่อยตอนกลางคืน วิธีแก้จำเป็นต้องเริ่มจากการดูแลต้นตอของปัญหาก่อนเลย
3. ปัสสาวะบ่อย ฉี่บ่อยตอนกลางคืน วิธีแก้มีอะไรบ้าง ?
วิธีแก้ปัญหาและแนวทางการรักษา ภาวะฉี่บ่อยตอนกลางคืน ผู้หญิงและผู้ชายสูงวัยนั้น ไม่แตกต่างจากการดูแลรักษาโรคอื่น ซึ่งต้องเริ่มแก้จากสาเหตุเป็นหลัก เช่น หากเกิดจากโรคเบาหวาน ก็ต้องเริ่มควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดีก่อน หรือถ้าเป็นเพราะดื่มกาแฟก่อนนอน ก็ต้องลดเลิกพฤติกรรมเหล่านั้นเสีย
แต่สำหรับบางสาเหตุ ที่เราสามารถลดความเสี่ยงได้ตั้งแต่ก่อนมีอาการ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ, นิ่ว, ต่อมลูกหมากอักเสบ หรือไตวาย จนทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน, กลั้นปัสสาวะไม่อยู่, ปัสสาวะไม่สุด, ปัสสาวะไม่ออก, ปัสสาวะแสบขัด, ปัสสาวะปนเลือด, ปัสสาวะขุ่น หรือสีปัสสาวะผิดปกตินั้น อาจเริ่มดูแลตัวเองด้วย UHERBAL ตั้งแต่วันนี้ จะได้ไม่ต้องตามรักษาตอนอายุมากขึ้น น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้ว
4. สรุป
อาการฉี่บ่อยตอนกลางคืนเป็นโรคอะไร ที่อาจเกิดจากกระเพาะปัสสาวะเก็บน้ำปัสสาวะไม่อยู่ หรืออาจเป็นโรคอื่นที่ส่งผลให้สร้างน้ำปัสสาวะเพิ่มขึ้นก็ได้ ซึ่งการรักษาคงต้องพิจารณาจากสาเหตุเป็นหลักเลย
บทความแนะนำ
10 อาการปวดท้อง สามารถบอกถึงโรคอะไรบ้าง ? เพื่อเตรียมตัวรับมือกับโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น บทความนี้มีคำตอบ